เมนู

โดยรอบเพราะไม่สามารถดำรงอยู่ในอาการหนึ่งที่เป็นไปว่า นี้เที่ยงหรือหนอ
หรือว่าไม่เที่ยง เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อเนกํสคาโห (ความไม่สามารถถือเอาโดย
ส่วนเดียวได้) เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ถือเอาโดยส่วนเดียว เพราะไม่สามารถ
ถือเอาโดยส่วนเดียว. ที่ชื่อว่า อาสปฺปนา (ความคิดส่ายไป) เพราะอรรถว่า
วิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่ออันชี้ขาด จึงถอยกลับจากอารมณ์. ที่ชื่อว่า ปริสปฺ-
ปนา
(ความคิดพร่าไป) เพราะอรรถว่า วิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่อจะหยั่งลง
จึงคิดส่ายไปรอบด้าน. ที่ชื่อว่า อปริโยคาหนา (ความไม่สามารถจะหยั่งลง
ถือเอาที่สุดได้) เพราะความเป็นสภาวะไม่สามารถเพื่อหยั่งลงถือเอาได้. ที่ชื่อว่า
ถมฺภิตตฺตํ (ความกระด้าง) เพราะความเป็นสภาวะที่ไม่สามารถเพื่อเป็นไป
ในอารมณ์ด้วยอำนาจการตัดสินใจได้ อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติ
กระด้าง. จริงอยู่ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำจิตให้กระด้าง ก็เพราะวิจิกิจฉา
นั้นเมื่อเกิดเป็นดุจการจับอารมณ์มาขัดอยู่ซึ่งใจ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
มโนวเลโข (รอยขีดใจ คือ ความลังเลใจ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้นแล.
อกุศลจิตดวงที่ 11 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 12


พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลจิตดวงที่ 12 ต่อไป.
ในการกำหนดสมัยแห่งอกุศลจิตดวงที่ 12 ที่ชื่อว่า อุทธัจจสัมปยุต
เพราะอรรถว่า อกุศลจิตนั้นสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ จริงอยู่ อกุศลจิตดวงที่ 12 นี้
เป็นกลาง (อุเบกขา) ด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ 6 เป็นฟุ้งซ่าน (อุทฺธตํ)
ในอกุศลจิตดวงนี้ จิตนี้มาแล้วในที่วิจิกิจฉาในธัมมุทเทสว่า อุทฺธจฺจํ โหติ